วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเกี่ยวกับนิสัยแย่ๆ เกี่ยวกับเงินทองที่เราไม่ควรทำซึ่งนิสัยแย่ๆ ในเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจเป็นเรื่องย ากที่จะทิ้งมันไป มันอาจเกิดจากนิสัยส่วนตัว หรือแม้แต่การขาดความรู้เกี่ยวกับการเงิน และนี่คือนิสัยเรื่องเงินๆ ทองๆ แย่ๆ ที่พบบ่อยๆและวิธีการหยุดนิสัยแย่ๆ เหล่านั้น
1.จ่ายตามอารมณ์
เมื่อเห็นของลดราคาหรือโปรโมชั่น ก็มักจะซื้อไว้รูดบัตรรูดปึ้ด ได้ของมาซึ่งบางที่ไม่ได้จำเป็นต้องใช้จริงๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงนิสัยนี้เราต้องตั้งกฎสำหรับตัวเอง เช่นเราจะซื้อสิ่งของที่เราต้องการที่จะใช้ในเวลานั้นๆ ไม่ซื้อของที่แก้กระหายอย ากได้
หรือลองรอสักหนึ่งวันหลังจากที่เจอของ ที่ต้องตาว่าเราต้องการจริงหรือไม่ และเป็นเรื่องดีหากเราจ่ายด้วยเงินสด เมื่อจะซื้อของที่อย ากได้
2.ให้ยืมเงิน
เมื่อเราให้ความช่วยเหลือให้เพื่อนหรือ สมาชิกในครอบครัวยืมเงิน การทำแบบนี้อาจทำให้กระเป๋าเงินของคุณ และความสัมพันธ์ที่มีแย่ลงได้ เมื่อคนที่เราให้ยืมไม่คืนเงิน เป็นผลทำให้เงินในกระเป๋าน้อยลงและอาจต้องจบความสัมพันธ์ความเป็นเพื่อนได้
เราจะบอกว่าก่อนที่จะเสนอเงินให้เพื่อนยืม ยังมีทางอื่นที่เราจะช่วยเพื่อนได้ และรักษาความสัมพันธ์อันดีไว้ หากเพื่อนรถเสียต้องซ่อมเราอาจให้รถเพื่อนยืมจนกว่ารถเพื่อนจะซ่อมเสร็จ หรือแนะนำหนทางการลดรายจ่ายให้กับเพื่อน หากเรายังคงต้องให้เพื่อนยืมเงินจริงๆ
จงคิดเสียว่าเราให้เงินนั้นเป็นของขวัญ เพราะหากเพื่อนไม่คืนจริงๆเราก็ยังทำใจได้ เพราะตั้งใจให้เงินเขาจริงๆ
3.จ่ายตลอดสปอร์ตจ้า
สำหรับคนที่เลี้ยงเพื่อนตลอดเมื่อไปเที่ยว อาจจะรู้สึกภูมิใจที่ได้เลี้ยงแต่มันก็ไม่ได้ไปตลอดนะ อย่ าได้หวังเกินไปว่าหากเราเลี้ยงเขาตลอดแล้วเขาจะปฏิบัติกับเราอย่ างที่เราอย ากให้เป็น เราไม่สามารถตัดสินได้เลยว่า ที่เขาไปกินข้าวหรือสังสรรค์กับเรา เพราะอย ากไปจริงๆ หรือแค่อย ากกินฟรีกันแน่
4.เปรียบเทียบสถานะทางการเงินกับคนอื่น
หลายๆ คนที่วัดความสำเร็จจากการมีบ้านหลังใหญ่ หรือรถหรูขับ แต่บอกเลยว่ามันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน บ้านหลังใหญ่หรือใช้ของหรูๆ แพงๆ เป็นแค่ตัวบ่งบอกว่าคนคนนั้น เลือกที่ใช้เงินกับมันเท่านั้นใช่ว่าเขาจะมีจริงๆ หากเราเห็นเพื่อนบ้านของเรามีรถใหม่คันสวย
เราก็จะต้องมีมันเหมือนกันจริงไหม? แต่พึงระลึกว่าเพื่อนบ้านหรือคนที่เรารู้จักหลายๆคน ใช้ชีวิตเกินตัวเกินเงินที่มีซึ่งพบว่าหลายคนเป็นหนี้บัตรเครดิทก้อนโต อีกทั้งยังไม่มีเงินเก็บไว้ฉุกเฉิน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตเกินตัวแบบนี้ เราควรเริ่มกำหนดว่าอะไรสำคัญกับคุณ
เพื่อตัวคุณเองตั้งเป้าว่าชีวิตนี้ต้องการอะไรในอีก ห้าปี สิบปี ยี่สิบปี และห้าสิบปี บางที่คุณอย ากที่จะไปสร้างบ้านอยู่ที่บ้านเกิด หรือเกษียณแบบสบายๆเมื่อคุณได้เริ่มกำหนดว่าอะไรมีความหมายในชีวิตคุณแล้ว คุณก็จะตัดสินเรื่องการใช้เงินจากเป้าหมายนั้น แทนที่จะใช้จ่ายเกินตัวเพื่อให้คนอิจฉา เรามาทำชีวิตเราให้เป็นแบบที่เราฝันดีกว่า
5.ผลาญรายได้ทั้งหมด
ทุกคนล้วนแต่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในแต่ละเดือน อาจเป็นค่าน้ำค่าไฟ และสิ่งอุปโภคบริโภคส่วนสำหรับเงินที่เหลือจากการจ่ายค่าต่างๆ เหล่านั้น ก็เป็นเรื่องของคุณเองที่จะเอาเงินที่เหลือไปทำอะไร อาจจะใช้มันให้หมด หรือ เราจะเก็บออมและลงทุน เพื่อสร้างบรรทัดฐานว่า
วันไหนที่เราไม่มีงานหรือต้องใช้เงินฉุกเฉิน เราก็ยังมีเงินมาใช้เมื่อคนเราใช้เงินทั้งหมดที่ได้รับมา เขามั้งจะไม่มีงบประมาณว่าเท่าไหร่ ซึ่งมันเป็นข้อผิดพลาดที่คนเราชอบทำ อย่ างไรก็ดีมีข้อแนะนำว่าเราควรจะเขียนงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนไว้เผื่อฉุกเฉิน
และเงินออมเพื่อการเกษียณเราควรจะมีเงินเก็บฉุกเฉิน พอที่จะอยู่ได้หกเดือนให้คำนวณจากรายจ่ายแต่ละเดือนคูณหก และควรเก็บอย่ างน้อย 10% จากรายได้ เมื่อคุณได้สร้างแผนการในการใช้จ่ายและเก็บออมแล้ว จงทำตาม เพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณจะไปถึงเป้าหมายของคุณได้
6.ใช้ชีวิตติดบัตรเครดิตตลอด
ยุคสมัยนี้มีแต่คนใช้บัตรเครดิตและติดหนี้บัตรกันหลายคน แต่อย่ าลืมว่าหากใช้บัตรคุณต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย เพราะเงินอนาคตที่เรารูดไปกับสินค้าต่างๆ หากเราใช้ชีวิตติดกับหนี้บัตรเครดิตตลอด คงเป็นเรื่องไม่ดีแน่ให้ลองคำนวณว่าเราใช้จ่ายไปแต่ละเดือน กับบัตรเครดิตแล้วเราต้องเสียดอกเบี้ยเท่าไหร่ดู ก็จะพบว่า
ดอกเบี้ยมันแพงเพราะฉะนั้นเราควรตั้งงบประมาณว่า เราจะใช้บัตรเครดิตในจำนวนเงินเท่าไหร่เพื่อจะไม่ให้มีค่าดอกเบี้ยมาก และหากเป็นหนี้บัตรเครดิตควรจะใช้หนี้ให้เร็วที่สุด
7.เพิกเฉยเกี่ยวกับเรื่องที่ควรใส่ใจ
หากเราหลีกเลี่ยงไม่ยอมที่จะเช็คบัตรเครดิตของคุณ หรือเช็คยอดเงินคงเหลือในบัญชี หรือการจดบันทึกรายรับรายจ่าย คุณกำลังใช้ชีวิตบนการเงินที่เข้าขั้นโคม่าแล้ว คุณอาจจะเคยคิดว่าหากเราไม่รู้ว่ามันแย่ได้อย่ างไร แล้วปัญหาก็จะหายไปเอง แต่จริงๆแล้วไม่เป็นอย่ างงั้น
หนทางที่จะทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นคือเราจงหาว่าปัญหาคืออะไร และทำแผนการเพื่อแก้ปัญหานั้น ได้เวลาแล้วที่เราจะต้องเริ่มปฏิบัติการเชิงรุก แทนที่จะรอตอบโต้อย่ างเดียว จงขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ครอบครัวที่ปรึกษาบรรเทาหนี้สินหรือผู้วางแผนทางด้านการเงิน
ที่คอยจักการประเมินสถานการณ์ทางการเงินของคุณ และพัฒนาวางแผนเพื่อปรับปรุงมันเพื่อที่จะเริ่มต้น จงทำให้แน่ใจว่าคุณว่าตอนนี้ ต้องจ่ายเครดิตเท่าไหร่เป็นหนี้เท่าไหร่ และมีภาระผูกพันรายเดือนของคุณเท่าไหร่ นี่คือคำถามที่ดีกับตัวคุณเอง เมื่อคุณตาสว่างแล้ว
คุณก็จะสามารถกลับมาควบคุณมันได้อีกครั้ง ด้วยความรักและปรารถนาดีจากใจ
ขอบคุณที่มา : jeeb.me