Home ข้อคิด 7 เรื่องของเงินที่ควรคิด อายุเยอะขึ้น แต่ยังไม่มีอะไรสักอย่าง

7 เรื่องของเงินที่ควรคิด อายุเยอะขึ้น แต่ยังไม่มีอะไรสักอย่าง

2 second read
0
0

1. รู้ตัวเองก่อนว่า มีอะไรมากกว่ากัน ระหว่าง “ทรัพย์สิน” กับ “หนี้สิน”

หากว่าเพื่อน ๆ มีรายได้เดือนนึงหลักหลายหมื่น แต่กลับมีรายจ่ายสูงพอ ๆ กับรายรับ สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างแรกเลย คือ ลิสต์รายการของทรัพย์สิน เพื่อเปรียบเทียบกับหนี้สินที่มีทั้งหมดครับ และถ้าหากมานั่งงงว่า เฮ้ย เราก็มีสินทรัพย์เยอะนะ มือถือรุ่นใหม่ ๆ, กล้องถ่ายรูปแพง ๆ ฯลฯ

แต่ทำไมยังจนอยู่ มีแต่หนี้สิน คิดง่าย ๆ เลยครับ มือถือ จำนวน 1 เครื่อง ราคาประมาณ 25,000 – 30,000 บาท แต่ราคาขายต่อ มูลค่ามันหายไปแทบจะครึ่งนึงแล้วครับ แค่นี้ก็พอจะมองออกแล้วใช่มั้ยครับว่าเพื่อน ๆ ต้องเริ่มกลับมาวางแผนการเงินให้ตัวเองได้แล้ว

เริ่มต้นง่าย ๆ ที่เริ่มสะสมทรัพย์สิน ที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น หุ้น กองทุนรวม เป็นต้น

2. สร้างงบการเงินในแบบของตัวเองได้แล้ว

แม้เพื่อน ๆ จะหาเงินได้มากแค่ไหน แต่หากบริหารเงินไม่ดี เงินที่ได้มาก็จะหายไปง่าย ๆ เรียกว่า “รวยเดย์ รวยกันแค่วันสิ้นเดือน” ดังนั้น สิ่งที่เพื่อน ๆ ต้องให้ความสนใจในลำดับถัดมา คือการสร้างงบรายจ่าย หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง ให้เริ่มต้น จากงบการเงิน 50-30-20 ดูครับ (สิ่งจำเป็น, สิ่งอย ากได้, ออมฉุกเฉิน)

3. เริ่มทยอยปลดหนี้ให้หมดได้แล้ว

ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรถ, ค่าบัตรเครดิต, หรือแม้แต่ค่าผ่อนสินค้า 0% ต่าง ๆ นั่นเ พราะยิ่งปลดหนี้เร็วเท่าไหร่ เราก็สามารถ นำเงินไปต่อยอดได้มากขึ้นเท่านั้นครับ และถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะปลดหนี้ยังไงดี แนะนำให้เริ่มจากดูว่าเรามีหนี้ทั้งหมดกี่ราย, จำนวนเงินที่เป็นหนี้ของแต่ละราย

และอัตราดอกเบี้ย จากนั้นให้จัดลำดับหนี้ โดยให้หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ด้านบน และเริ่มต้นปลดหนี้จากก้อนนั้นก่อน แล้วค่อย ๆ ทยอยปิดหนี้ก้อนอื่น ๆ ต่อไปจนหมดครับ

4. บริหารความเสี่ยงให้เป็น

การมีสติช่วยให้เราผ่านทุกปัญหาได้ เ พราะสิ่งที่เราจะพูดต่อไปนี้ คือเรื่องของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะโสดหรือไม่ก็ตาม ความเสี่ยงที่ควรพิจารณามี 3 ด้านคือ

4.1 ความเสี่ยงด้านชีวิตและสุขภาพ

เริ่มจากการคิดว่า หากเราเจ็บป่วยหรือเกิดเหตุไม่คาดคิด ครอบครัวจะต้องลำบากเพรา ะขา ดกำลังสำคัญรึเปล่า ? หากคำตอบคือใช่ เราลองบริหารความเสี่ยงโดยการซื้อประกันดีมั้ย ?

4.2 ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน

นั่นก็คือหากเราหยุดทำงาน (ไม่ว่าจะลาออกหรือไม่อย ากลาออกก็ตาม) เรามีความพร้อมรึยัง ? หากไม่มี สิ่งแรกที่ควรทำคือสำรองเงินฉุกเฉิน ประมาณ 6 เดือน ของรายจ่ายเอาไว้ก่อน

4.3 ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต

เช่น หากวันหนึ่งเพื่อน ๆ ขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ เรามีประกันภัยรถยนต์รึเปล่า ? ถ้าไม่มีจะซื้อมั้ย ? ซื้อประกันแบบไหนดี ?

5. คุณต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน

คิดจาก (รายจ่ายปกติต่อเดือน x 6 เดือน = เงินสำรองฉุกเฉินที่ควรมี) เงินจำนวนนี้จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหาด้านการเงินได้ โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินคนอื่น เพรา ะการกู้ยืมเงิน อาจจะทำให้เรากลับเข้าไปอยู่ในวงจรหนี้อีกครั้ง

6. ศึกษาเรื่องภาษีได้แล้ว

ยิ่งรายได้มาก ก็อย่าลืมว่าภาษีต้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพรา ะถือเป็นกฎหมายที่ทุกคนในชาติต้องปฏิบัติตาม สิ่งที่เพื่อน ๆ ควรศึกษาคือกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษี ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อน หรือการละเว้นใด ๆ ก็ตาม

7. วางแผนเกษียณหรือยัง

“แก่ไม่ว่า แต่อย่าแก่แบบไม่มีเงินครับ” ที่บอกแบบนี้เพรา ะอย ากให้วางแผนเกษียณกันไว ๆ ยิ่งวางเร็วยิ่งดี ดังนั้น การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์สำหรับเราเองครับ ไม่ต้องลำบากลูกหลาน

ขอบคุณที่มา : aommoney

Load More Related Articles
Load More By tongdangpatla
Load More In ข้อคิด

Check Also

วิธีการ เอาชนะคนอิจฉา แบบผู้มีปัญญาแล้ว

เชื่อว่าในชีวิคนเราทุกคนต้องพบเจอกับคนประเภทที่ ขี้อิจฉา จ้องจะเอาชนะไปซะหมดทุกเรื่องแต่กา…